|
|
|
|
บ้านดงเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ ก่อตั้ง ตั้งแต่ พ.ศ. 2282 โดยราษฎรที่อพยพมาจากประเทศลาว และราษฎรไทยที่อพยพมาจากจังหวัดอุตรดิตถ์ มาอยู่รวมกันตั้งรกรากอยู่ที่บ้านดงเพราะเห็นว่าพื้นที่มีความ อุดมสมบูรณ์มาก เมื่อปี พ.ศ. 2357 มีการจัดตั้งระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน ตาม พ.ร.บ. ลักษณะปกครองท้องที่ พ.ศ. 2457 บ้านดงครั้งนั้นเป็นส่วนหนึ่งของ อำเภอนครไทย แบ่งการปกครองเป็น 3 หมู่บ้าน ต่อมาถูกรวมกับตำบลป่าแดง และเมื่อบ้านเมืองมีความเจริญขึ้น กระทรวงมหาดไทย จึงได้ประกาศยกฐานะการปกครอง เป็นตำบลบ้านดง |
|
|
|
|
|
ปี 2539 ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้ยกฐานะเป็นองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เรียกว่า “องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง” สำนักงานตั้งอยู่ ทางทิศเหนือของที่ว่าการอำเภอชาติตระการ ระยะทางจากที่ว่าการอำเภอชาติตระการถึงองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง ประมาณ 23 กิโลเมตร และห่างจากจังหวัดพิษณุโลกประมาณ 95 กิโลเมตร |
|
|
|
|
 |
|
|

 |
ภาพ ตรา คือ เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ตามแบบฝีพระหัตถ์ เจ้าพระยานริศรานุวัติวงศ์ |

 |
อักษรย่อ ของ องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง คือ อบต. บ้านดง |
|
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านตั้งอยู่เลขที่ 888 หมู่ที่ 8 ตำบลบ้านดง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก 65170 มีเนื้อที่ประมาณ 316 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 197,500 ไร่ |
|
|
|
|
|

 |
ในเขตองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดงมีประชากรทั้งสิ้น 8,282 คน |
|

 |
แยกเป็นชาย จำนวน 4,158 คน |
คิดเป็นร้อยละ 50.21 |
|

 |
แยกเป็นหญิง จำนวน 4,124 คน |
คิดเป็นร้อยละ 49.79 |
|

 |
มีจำนวนครัวเรือน 3,020 ครัวเรือน |
|

 |
ความหนาแน่นเฉลี่ย 26.20 คน/ตารางกิโลเมตร |
|
|
|
|
|
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านดง มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้ |
|
|
 |
ทิศเหนือ |
ติดต่อกับ |
ตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขันและตำบลน้ำไผ่ อำเภอน้ำปาด จังหวัดอุตรดิตถ์ |
 |
|
ทิศใต้ |
ติดต่อกับ |
ตำบลป่าแดงและตำบลสวนเมี่ยง อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก |
|
 |
ทิศตะวันออก |
ติดต่อกับ |
ตำบลชาติตระการและตำบลบ่อภาค อำเภอชาติตระการ จังหวัดพิษณุโลก |
 |
|
ทิศตะวันตก |
ติดต่อกับ |
ตำบลคันโช้ง อำเภอวัดโบสถ์ และตำบลบ่อทอง อำเภอทองแสนขัน |
|
|
|
|
|
|
โดยทั่วไปส่วนใหญ่เป็นภูเขาเชิงลาด มีที่ราบ บริเวณเชิงเขา มียอดเขาสูงสุด คือ ภูเขาทอง สูงประมาณ 1,105 ฟุต มีแหล่งน้ำธรรมชาติ คือ ลำน้ำคลึง ห้วยลำพาน และอ่างเก็บน้ำนาหล่ม เป็นเนินสูงต่ำสลับกัน และพื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินลูกรังและดินร่วน |
|
|
|
|